Site icon Sirichaiwatt

“หึงหวง” เป็นเรื่องงี่เง่า?

คุณเป็นคน “ขี้หึง” ไหม? แล้วคุณชอบ “คนขี้หึงไหม?” ความหึงหวงเกิดจากเจตนาใด ดี หรือ ร้าย? หรือว่า ความหึงหวงมีแต่ทำให้ รำคาญ ดูน่างี่เง่า? ถ้าเราไม่ใช่คนที่อยู่ในสถานการณ์บางทีเรื่องพวกนี้ก็นึกไม่ออก.. บทความความรักวันนี้จะมาชวนคิดเรื่อง ความหึงหวง ที่มันเป็นเรื่องที่มักแยกกันกับรักไม่ออก

หากถามว่า เราขี้หึงไหม? แล้วชอบคนขี้หึงไหม? ถ้าถามหลาย ๆ คน คำตอบจะมีทุกแบบ เบื้องต้นเราอาจคิดว่าคนที่ขี้หึง ก็อาจชอบคนขี้หึง หรือคนไม่ขี้หึง ย่อมไม่ชอบคนที่ขี้หึงเป็นแน่… ก็มีอยู่แต่ไม่เสมอไป เพราะคนขี้หึง หลายคนกลับไม่ชอบคนขี้หึง หรือคนที่ไม่ขี้หึงกลับชอบที่เป็นฝ่ายถูกหึงหวงก็มี และดังที่บอกเป็นไปได้ทุกรูปแบบ

ในเมื่อเรา พูดกันเรื่องความหึงหวง เราจึงจะ “ไม่พูดถึงว่าทำไมคุณจึงไม่ขี้หึง” เพราะส่วนหนึ่งเหตุผลของอีกด้านก็คือเหตุผลของด้านตรงข้ามเช่นกัน กล่าวคือพูดไปมันก็เหมือนกันแค่ตรงกันข้ามแค่นั้นเอง (ไม่เข้าใจไม่เป็นไรครับ ไม่สำคัญ)

ทำไมต้องหึงหวง?

เราอาจบอกเหตุผลมากมายว่าทำไมเราต้องหึงหวง และจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม บางทีก็ไม่รู้ตัวว่าทำไมเราต้องขี้หึงด้วย ผมจะพยายามแจกแจงเหตุผลดูตามมุมมองต่าง ๆ ในแบบผมเอง

อีกด้านของการหึงหวง

ข้างต้นเป็นเพียงมุมเหตุผลปนความรู้สึก ทั่ว ๆ ไป แต่มันมีหลายกรณีที่เราไม่รู้ตัวว่า เหตุที่เราขี้หึง เราขี้หวง หรือห่วงมากเกินไปนั้น มันมาจากบางสิ่งที่อยู่ลึกภายในใจ ไม่เข้าใจตัวเองอย่างแท้จริงและยากที่จะแสดงออกบางอย่างไปโดยรู้ตัวได้ ดังเช่น

ประโยชน์ของ ความหึงหวง

จากเหตุที่กล่าวมาคุณว่า ความหึงหวงมีประโยชน์ใด? ถ้ารักแล้วมันทำร้ายด้วยการหึงหวงให้รำคาญ ถ้าเขาจะเคยเป็นอย่างไร จะมีอดีตหรือไม่ การหึงหวงไม่สามารถเปลี่ยนอะไรไปในเชิงบวกได้เลย อาจจะคิดเอาว่า ก็ไม่ได้หึงมากอะไร หึงหวงจะมากหรือไม่หากอีกฝ่ายไม่เข้าใจ มันก็กลายเป็นรำคาญไม่ยอมรับ และ “งี่เง่า” ได้ทั้งนั้น เพราะมันไม่ใช่สิ่งที่เป็นเชิงบวกต่อชีวิตคู่ (ผู้เขียนเองก็ยอมรับว่าเคย และที่สุดมันก็ไร้ประโยชน์)

ยิ่งถ้าพบว่าความหึงหวงนั้น เกิดจากความรู้สึกภายในเพียงบางอย่างจากใจเรา เช่นปมด้อย ความไม่มั่นใจ หรือในศักดิ์ศรี การยึดติดใดก็ตาม เรายิ่งพบว่ามันไร้ค่าและล้วนบ่อนทำลาย ไม่มีอะไรสร้างสรรค์

“จะให้ปล่อยทุกอย่างเลยหรือ?” อาจจะมีคำถามเช่นนี้ขึ้นมาเมื่ออ่านถึงตรงนี้ ก็ขอตอบว่าไม่ใช่ คบใครก็ไม่จำเป็นต้องหูตามืดบอด เพียงแต่ว่า “การระวัง อย่างไรก็ต่างจากความระแวง” ระวังไว้บ้างก็ดีเหมือนที่อธิบายในอีกด้านของการหึงหวง แต่สิ่งที่ควรระวังที่สุดคือ..

ระวังตัวเองว่า ทำหน้าที่บกพร่องหรือไม่? ระวังตัวเองว่าทำตัวดีพอหรือไม่? ระวังตัวเองว่าปล่อยตัวหรือไม่? ทำให้ตัวเองหมดความมั่นใจหรือไม่? หลายคนก็คงถามอีกแหละว่าต้องทำเพื่อเขาแค่ไหนกัน มันก็ตอบไม่ได้จริง ๆ นั่นแหละ แต่ถ้าสิ่งดีไม่ทำ ซ้ำยังหึงหวง ไม่ต้องห่วงหรอกครับ พัง… ก็ดังที่เขียนไป มันไม่มีอะไรในเชิงบวก หึงหวงไม่มีวันเป็นบ่วงผูกคอใครให้รักได้ อาจมีผลเพียงพักหนึ่งแต่ตลอดไปไม่มีทาง และเพราะคนอารมณ์ร้ายหลายรู้ว่าไม่มีทาง จึงมักใช้วิธีรุนแรงขึ้น ไม่ว่าต่อตนเองหรืออีกฝ่ายก็ตาม..

ความห่วงใยก็เช่นกัน มันคือสิ่งดี แต่ย่อมมีขอบเขต เราอาจรวมไปด้วยว่า ห่วงเขาจะออกนอกลู่นอกทาง จะระวังไว้บ้างย่อมไม่ผิด (และมีประโยชน์เหมือนกัน) ต้องมันก็ต้องระวังสักนิดว่ามันจะเกินคำว่าห่วงไป เพราะหากเขาคิดจะไป ไม่ต้องรีบแต่อย่างใด เดี๋ยวเขาก็ต้องดิ้นรนออกไปให้เห็นเอง พยายามใส่ใจในสิ่งดี ๆ ทำตัวเองให้ดีไว้ย่อมดีกว่า..

บทความนี้อาจเป็นเพียงมุมหนึ่ง เรื่องความรักความสัมพันธ์ซึ่งละเอียดอ่อนย่อมมีอะไรมากมาย อยากให้เพียงพิจารณาดี ๆ ว่า ความหึงหวงนั้นมีประโยชน์ใด จะถูกต้องหรือไม่สุดท้าย ทุกข์สุขย่อมเกิดกับใจผู้นั้นเอง..

บทความฉบับปรับปรุง เผยแพร่ครั้งแรก Facebook Sirichaiwatt เมื่อ 29/6/2020

Exit mobile version