คอลัมน์การตลาด MarkeThinks 07 : See Seafood อาหารทะเล
พิมพ์ครั้งแรก : นิตยสาร Foodbook ปีที่ 1 ฉบับที่ 8
คอลัมน์การตลาด MarkeThinks ตอน See Seafood ฉบับนี้ ด้วยจากฉบับก่อนที่เพิ่งพูดถึงเรื่อง Core Competency ความสามารถหลักขององค์กร หรือธุรกิจ เชื่อมโยงมาฉบับนี้ได้ว่า จริงๆ แล้ว Core Competency อย่างหนึ่งของธุรกิจอาหาร(ภาพรวม) ของหัวหินควรจะเป็น Sea Food (อาหารทะเล) ที่เป็น Product (ผลิตภัณฑ์) หนึ่งของท้องถิ่น เพราะอะไรคงไม่ต้องบรรยาย มาทะเลใครก็ย่อมนึกถึงอาหารทะเล (เว้นแต่ว่าแพ้อาหารทะเลก็เท่านั้น) แต่ แล้วถ้าไม่ได้ขายอาหารทะเลล่ะ?
มองความจริงไปอีกนิดหนึ่งว่าบางครั้งเรื่องของความโดดเด่นของสินค้านั้น อาจไม่จำเป็นต้องเป็น ของหายาก (Rarity) หรือ เลียนแบบยาก (Imitability) เสมอไป เพราะอย่างปลาทูแม่กลองนั้น ที่จริงแล้วน่านน้ำอ่าวไทยยากไร้ปลาทูมาพักใหญ่ๆ แล้ว ความขลังของแบรนด์ต่างหากที่รักษา “ปลาทูแม่กลอง” อยู่
ที่ญี่ปุ่นมีร้านพริก.. ใช่ครับ “ร้านพริก” ชื่อดังร้านหนึ่ง ชื่อว่า Yawatara Isogoro หน้าวัด Zenkoji เมือง Nagano พริกป่น ที่จริงควรเรียกว่าพริกปรุง เพราะเป็นพริกที่ปรุงผสมสิ่งอื่นๆ รวมกันให้ได้รสชาติแบบหนึ่ง มีหลายสูตรรวมถึงตามแต่ต้องการ ส่วนหนึ่งเหมือนประดิษฐ์มาขาย ผมมีโอกาสได้ชิม(แบบสำเร็จขายทั่วไป) ก็ยอมรับว่ารสชาติที่เผ็ดนิดหน่อยเหมาะกับญี่ปุ่น และมีความอร่อยแฝงจากส่วนผสมอื่นๆ Packaging (บรรจุภัณฑ์) ก็หลากหลายสวยงาม เราจะเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า Added Value การเพิ่มมูลค่าประการหนึ่งก็ได้ แต่อาจมีอะไรมากกว่านั้น “พริก” ที่ควรจะมีคุณสมบัติหลักที่ “เผ็ด” หรือ Core Competency พริกควรจะเผ็ด แล้วทำไมพริกที่ไม่ค่อยค่อยเผ็ดนี้จึงมีดีขึ้นมา
ของฝากจากญี่ปุ่นวันนี้ ลองไปคิดดูสิครับว่า พริก ที่ปกติไม่ใช่ของชอบของคนญี่ปุ่น แต่แบรนด์นี้กลับมีชื่อและวางขายทั่วไป เป็นที่รู้จักทั่วญี่ปุ่นได้นั่นเพราะอะไร? ลองคิดจากหลักการ Product Strategy ก็จะเห็นได้ว่า ส่วนที่เขาใช้มีอะไรบ้าง น่าจะพอเห็นอะไรมากมายเพื่อเอามาพัฒนากับสินค้าเรา พบกันใหม่ สวัสดีครับ