คอลัมน์ MarkeThinks 17 : Market Share Brand หัวหิน(2/2)

by

| Home » บทความธุรกิจ-การตลาด » บทความการตลาด » คอลัมน์ MarkeThinks » คอลัมน์ MarkeThinks 17 : Market Share Brand หัวหิน(2/2) |


พิมพ์ครั้งแรก : นิตยสาร Foodbook ฉบับที่ 18

กล่าวถึงความสำคัญ(มาก) ไปแล้วสำหรับคำว่า ส่วนแบ่งการตลาด (Market Share) หากใครยังไม่ได้อ่านแนะนำให้ไปหา Foodbook เล่มก่อนหน้านี้ หรืออ่านออนไลน์ย้อนหลังได้ที่นี่ โดยในฉบับนี้จะกล่าวต่อเนื่องจากฉบับก่อน เมื่อได้เห็นความสำคัญของส่วนแบ่งการตลาดจากตัวอย่างสุดท้ายว่า หากมีผู้ค้ามาก ส่วนแบ่งยิ่งน้อยลง แต่ในอีกทาง ถ้ามูลค่าตลาด (Market Size) โตขึ้นล่ะ?

ผมจะสมมติต่อว่า เมื่อมูลค่าตลาดมันเพิ่มขึ้นจะด้วยกำลังซื้อ หรือคนมาเดินตลาดนัดมากขึ้นก็ตามทำให้ คนต้องการแตงโมเป็น 200 ลูก โดยมีร้าน 2 ร้าน ก็จะทำให้มีโอกาสได้ร้านละ 100 ลูกเลยทีเดียว (จากเดิมร้านละ 25 ลูก) จะเห็นว่าหากมีรายที่ 3-4 บนมูลค่าการตลาดที่เพิ่มขึ้นแล้วก็จะเฉลี่ยได้ร้านละ 50 ลูก มากกว่าแต่ก่อนอยู่ดี ซึ่งกรณีนี้เราไม่พูดถึงปัจจัยความสามารถของแต่ละร้านจึงสมมติให้ได้เท่าๆ กัน สิ่งนี้สะท้อนว่าทุกคนมีโอกาสอยู่ได้โดยไม่ต้องแข่งขัน

แล้วทำไงมูลค่าการตลาดจะเพิ่มขึ้นได้? ก็ดังที่สมมติไปประการหนึ่งคือ มีคนมาเดินตลาดนี้มากขึ้น นั่นอาจหมายถึง ตลาดนี้ดังหรือมีชื่อเสียงมากขึ้นนั่นเอง เป็นไปได้ไหมที่ร้านขายแตงโมทุกๆ ร้านจะช่วยโปรโมทตลาดหรือสร้างภาพลักษณ์ให้ตลาดนี้มีคนมาเดินมากขึ้นมากกว่าจะมัวแข่งขันกันเอง? แน่นอนทำได้ไม่มากก็น้อย..

กลับมาถึงที่กล่าวไว้ตอนต้นว่าสมมติเกี่ยวกับ Brand หัวหิน หากทำให้มีชื่อเสียง(อย่ามองแค่ว่ามีอยู่แล้ว) การช่วยกัน การร่วมกัน ในหลายๆ ด้าน สร้างให้มีความน่าสนใจมากขึ้น ผู้คนมาบ่อยขึ้นหรืออะไรก็ตามประหนึ่งว่าพวกเราคือแม่ค้าแตงโมในตลาด โอกาสย่อมมากขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องแข่งกันรุนแรง (Red Ocean) ก็มีความเป็นไปได้

..เพาะปลาขึ้นมากินเองได้หรือสร้างระบบนิเวศที่ทำให้ปลามีมากพอ โดยไม่ต้องไปแย่งกันเอง..

ทั้งนี้เราอาจมองว่ามีหน่วยงานหรือหน้าที่ของรัฐต้องจัดการสิ่งเหล่านี้อยู่แล้ว มันก็ถูกแต่มันก็เป็นสิ่งที่ดีหากเกิดความร่วมมือ ส่งเสริม สนับสนุน และคิดว่าแท้จริงผลประโยชน์ในเชิงนี้ก็ไม่ไปไหนนอกจากผู้ค้าด้วยกันมันน่าจะเป็นภาพของน่านน้ำสีขาว (White Ocean) ในแบบที่เพาะปลาขึ้นมากินเองได้หรือสร้างระบบนิเวศที่ทำให้ปลามีมากพอ โดยไม่ต้องไปแย่งกันเอง

บางคนอาจคิดทันและคิดเลยไปได้ว่า เมื่อตลาดโตผู้ค้าก็มากขึ้นตามมาอยู่ดีมีความเห็นแก่ตัว แก่งแย่งอยู่ดี ตรงนี้คงไม่มีอะไรมาแย้ง เพียงแต่อยากให้มองเลยไปอีกว่า ถ้าคิดถึงความยั่งยืน (Sustainability) จริงๆ มันก็เริ่มจากจุดยืนที่คุณอยู่นี่แหละ พันธมิตรทางธุรกิจที่เกิดได้จากสิ่งที่ผมกล่าวไปนั้น มันน่าจะแข็งแรงกว่าแค่ผู้ค้าใหม่ๆ ที่ยังไงๆ ก็มีมา ก็ต้องมีไป ไม่เกี่ยวกับมูลค่าตลาดจะเป็นอย่างไรด้วยซ้ำ แล้วไม่ได้หมายความว่า ผู้ค้าใหม่มีไม่ได้ และผู้ค้าเก่าไม่มีเห็นแก่ตัว สิ่งสำคัญคือหากมาเข้าร่วมกัน ก็ยิ่งสร้างความเข้มแข็งมากกว่าสร้างคู่แข่ง ระบบ ระเบียบ มันจะมีกลไกบริหารจัดการได้ แต่หากยิ่งมาก ยิ่งแข่งขันมันตลาดมันก็ไปตามมีตามเกิด ตัวใครตัวมัน..

คอลัมน์การตลาด Markethinks 17 Market share
คอลัมน์ MarkeThinks 17 : Market Share Brand หัวหิน 2/2

 

Sirichaiwatt Avatar
วิทยากร คอลัมนิสต์ นักเขียน นักคิด ที่ปรึกษา จากสายด้านธุรกิจ การตลาด สู่การจัดการบุคคลากร และว่าที่นักจิตวิทยาการปรึกษา
แสดงความคิดเห็น