ความเห็น กรณี GTH แถลงปิดค่าย

by

| Home » บทความธุรกิจ-การตลาด » ธุรกิจ-หุ้น-การลงทุน » ความเห็น กรณี GTH แถลงปิดค่าย |


กระแสร้อนวันนี้ในวงการภาพยนตร์ไทยคือการยุบค่ายหนังที่น่าจะเรียกว่า อันดับ 1 ของไทยในตอนนี้อย่าง GTH!!

จากการแถลงอย่างเป็นทางการของทางเว็บไซต์ GTH เอง (ลิ้งค์แนบ) ทำให้รู้สึกได้ว่าแม้แต่ความก้าวหน้า ก็มองกันได้แตกต่างออกไป นี่คือตัวอย่างการพิจารณาหนึ่งของแนวทางการเติบโตของบริษัทหรือองค์กร

http://gth.co.th/news/ขอบคุณที่รักกัน

GTH แถลงยุบค่าย
ข้อความแถลงจากหน้าเว็บไซต์ของ GTH

 

จากเนื้อความที่ว่า “ไท เอนเตอร์เทนเม้นท์ ต้องการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์เพื่อเพิ่มเงินทุนในการพัฒนาโปรเจคให้ใหญ่และหลากหลายมากขึ้น ทาง หับ โห้ หิ้น บางกอก เห็นว่าบริษัทยังไม่มีความพร้อมที่จะเข้าตลาดฯในช่วง 1-3 ปีนี้ เนื่องจากปัจจุบันยังคงเน้นการผลิตผลงานที่สร้างสรรค์ มีคุณภาพ และใส่ใจทุกขั้นตอนในการทำงาน การเข้าตลาดฯตอนนี้อาจทำให้เกิดภาวะกดดันที่ลดทอนความคิดสร้างสรรค์และคุณภาพของผลงาน” ตรงนี้นี่เองที่เป็นการแสดงออกถึงความเห็นที่แตกต่างดังกล่าว

หากวิเคราะห์ดูคร่าวๆ จากข้อมูลที่เห็น โดยส่วนตัวแล้วมองว่า คู่กรณีหลักจะเป็น ไท เอนเตอร์เทนเม้นท์ และ หับ โห้ หิ้น มุมหนึ่งนั้นเหตุผลของทาง ไทฯ มองการเติบโตในแนวราบที่จะทำให้ ขยาย พัฒนาสิ่งแปลกใหม่ แตกออกไปได้มากขึ้น แต่ในทางหับ โห้ หิ้น อาจมองแง่ความมั่นคง ยั่งยืน ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องวิเคราะห์ปัจจัยโดยละเอียดกันต่อไปมากกว่าสรุปได้ง่ายๆ

ทว่ากรณีเหล่านี้ ในความเห็นส่วนตัวเช่นเคยมองว่า มันมีทางออกอยู่ ซึ่งทางออกใดก็ตามที่ทำให้เกิด Win Win Situation มักจะขจัดความขัดแย้ง กับความแตกต่างลงไปได้

แนวทางดังกล่าว เช่น การเข้าตลาดหลักทรัพย์ใหม่ ในลักษณะของ Google ที่ตั้ง Alphabet มาเป็นบริษัท Holding หรือในกรณีนี้คือ จัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาเป็นบริษัทแม่ของ GTH เพื่อเข้าตลาดทุนอีกทีหนึ่งนั่นเอง

ด้วยเหตุผลก็จะทำให้ทาง ไทฯ ได้เข้าตลาดหลักทรัพย์ตามตั้งใจ และปล่อย GTH ให้ยังคงอยู่ในลักษณะเดิมตามที่ หับ โห้ หิ้น มั่นใจ

ข้อดี แน่นอนว่า การได้ทุนเพิ่ม ย่อมสามารถช่วยให้มีการพัฒนา รวมถึงหาพันธมิตรในการจัดการต่างๆ ได้มากมายผ่านบริษัท Holding หรือจะโกอินเตอร์ก็ตาม ทั้งยังไม่ต้อง ลบแบรนด์ GTH ที่น่าจะถือว่ามีราคาประเมินสูงไม่มากก็น้อยในตอนนี้ เพราะหากหนังเรื่องใด ผ่านป้ายชื่อ GTH ในเวลานี้ ย่อมมีผู้ชมยอมจ่ายตังอย่างไม่ลังเลในการซื้อบัตรเข้าไปชม
อีกประการ เมื่อมีบริษัท Holding หรือจะเรียกว่า บ.แม่ เข้ามา การสร้าง Sub brand หรือค่ายลูก แยกย่อย ก็อาจทำให้ทั้งก้าวหน้าให้ภาพรวม และป้องกันภาพพจน์ต่อแบรนด์ GTH ได้ในการสร้างโปรเจคใหม่ๆ อีกด้วย

ข้อเสีย เดียวที่อาจเกิดคืออำนาจการแทรกแทรงภายหลังในลักษณะผู้ถือหุ้น ซึ่งในความเป็นจริงก็ไม่ต่างจากสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะถ้าทีมบริหารมีนโยบายต่างกันเมื่อใด มันก็ยากไปต่ออยู่ดี สิ่งเหล่านี้คือ Vision ที่แต่ละองค์กรต้องกำหนดไว้ชัดเจนแต่แรกเอง..

นี่เป็นเพียงความเห็นหนึ่งในแนวทาง คุณล่ะคิดว่าเช่นไร?

Sirichaiwatt Avatar
วิทยากร คอลัมนิสต์ นักเขียน นักคิด ที่ปรึกษา อิสระ ปัจจุบันประกอบอาชีพหลัก พ่อบ้าน :P ส่วนวิทยากร ธุรกิจส่วนตัว และอื่น ๆ เป็นอาชีพรอง.. V(^0^)V
แสดงความคิดเห็น