การประมูลคลื่นความถี่ ที่กินเงินประชาชน?

by

| Home » บทความดีๆ » บทความน่าอ่านและเรื่องราวดีๆ » A Life In A Day » การประมูลคลื่นความถี่ ที่กินเงินประชาชน? |


การประมูลคลื่นความถี่ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าซีเรียสเรื่องหนึ่ง และสร้างความสงสัยให้ผมเป็นอย่างมากว่า ทำไมเราต้องแบกภาระที่ถ่วงความเจริญของประเทศเหล่านี้ เขาคิดอย่างไรกัน? ถึงได้เอาเม็ดเงินไปใช้ แล้วเบียดบังเงินประชาชนทั่วไปภายหลังแบบนี้?

ภาษีก็ไม่ใช่ เต็มใจก็ไม่มี และบางทีเรานี้ไม่รู้ตัว?

ก่อนอื่นออกตัวว่านี่เป็นบทความเขียนข้อสงสัย ไม่ใช่บทความกล่าวหา ยินดีรับข้อมูลเพิ่มเติม หรือมุมมองอื่นๆ

เรื่องแรก เงินประมูลทีวีดิจิตอล

โดยล่าสุด (31 ต.ค. 2558) ช่องรายการของ บริษัท ไทยทีวี จำกัด ถูกระงับไปเรียบร้อยเนื่องจากไม่ชำระค่าประมูลงวดที่ 2 อนึ่ง ส่วนนี้ตามเหตุผล ฝ่ายรัฐย่อมทำตามกฎระเบียบ แต่! มองทางเอกชนนั้นเคยมีการท้วงติงมานานเรื่อง เงินประมูลไป ไม่ย้อนกลับมาช่วยตามที่เคยบอกกล่าวกันไว้ในการช่วยเหลือประชาสัมพันธ์หรืออื่นๆ

ความเป็นจริงประสาชาวบ้านที่เห็น

  1. เงินที่ประมูลมา ทำให้คนไทยได้ดูบอลฟรี.. แต่ดูเหมือนวุ่นวาย และออกแนวเบียดเบียน เจ้าของลิขสิทธิ์ หรือ RS ตอนนั้น งวดแรกได้เงินราว 11,000 ล้านบาท จ่ายชดเชย 427 ล้านบาท แต่ไม่ง่ายกว่าจะได้เงิน.. และ.. ถามว่า การนำรายได้ส่วนนี้ให้ได้ดูบอลฟรี เหมือนที่นักการเมือง จัดงานเลี้ยงหลังเลือกตั้งหรือเปล่า? คือ มีคนส่วนหนึ่งชอบใจได้ของฟรี แต่นี่เป็นการใช้เงินที่สูญ.. หาย หรือไม่
  2. กล่องทีวีดิจิตอล นโยบายแจกฟรี.. ที่สุดท้ายแทบไม่มีใครใช้? อันนี้ 50 – 50 ส่วนหนึ่งประชาชน และภาคเอกชน(บางส่วน) ก็ถือว่าได้ประโยชน์ มีการหมุนเวียนเงินลงมา แต่ทว่า สุดท้าย คนใช้กล่องทีวีจริงจังมีน้อยราย ก็ในเมื่อธุรกิจจานดาวเทียมยังอิ่มตัวอยู่แล้ว กล่องใหม่นี่มาจะหาทีวีที่ไหนมาติดกัน.. มันก็สอดคล้องกับข้อแรกที่ประมูลได้เงินไปไม่ค่อยย้อนกลับมา
  3. เงิน เข้าคลัง หรือเข้าหน่วย? ตามกฎ นั้นรายได้เข้า กสทช. และนโยบาย (ขอไม่ยกกฎหมายตรงๆ) กล่าวรวมๆ ไว้ว่า หน่วยงานหรือการประกอบการประมูลนี้ ทำเพื่อภาคประชาชน มากกว่าหารายได้? แล้ว??? (ตอนนี้กำลังมีการยกร่างใหม่.. ก็ไม่รู้ว่าจะยังไง เพราะได้เงินกันไปแล้ว)

มองอีกมุม เดี๋ยวจะหาว่าเป็นการโจมตีข้างเดียว ประเด็นผู้ประกอบการอยู่ไม่ได้นั้น แต่ส่วนใหญ่ยังอยู่ได้อันนี้ต้องถือว่าเป็นการปรับตัวโดยหลักการการทำธุรกิจถือว่าไม่ผิดนัก และในส่วนหนึ่งต้องการกำกับดูแลแต่ในภาวะการกำกับดูแล และเป็นการปรับระบบแม้จะช้าไปแต่ก็ดีกว่าไม่ทำซึ่งพูดกันตามเนื้อผ้า กำกับดูแลได้จากทหาร ไม่ใช่นโยบาย หรือการประมูล..

โดยสรุปแล้ว ส่วนหนึ่งอาจเหมือนเป็นเรื่องของภาครัฐกับภาคเอกชนรายใหญ่ แต่คำถามคือ เมื่อรัฐสร้างภาระให้เอกชน แล้วเอกชนจะเอาคืนกับใคร? คุณว่าใคร? และตกลงรัฐควรมีหน้าที่อะไร

ประมูลคลื่นความถี่
ภาพประกอบจากเว็บไซต์ Spingnews

เรื่องต่อมา เงิน ประมูลคลื่นความถี่ มือถือ

ในการดำเนินกิจการหรือธุรกิจ เมื่อครั้งประมูล 3G เอาแค่นี้ก็เห็นภาพอะไรหลายๆ ยังไม่ต้องเอา 4G มาพูดให้ดูแย่กว่าเดิมเพราะ

ความเป็นจริงประสาชาวบ้านที่เห็น

  1. อย่างแรกเรารู้กันดีแง่ความล่าช้า อืดอาด สร้างช่องความได้เปรียบเสียเปรียบแก่ทั้งเอกชน และประชาชน ดังที่เป็นข่าวมาก่อนว่า ประเทศอื่นมีกันไปไกลแล้ว
  2. แง่ธุรกิจมองอย่างเป็นกลาง เงินที่ต้องประมูลเหล่านี้คือต้นทุน เมื่อเป็นต้นทุนยามที่รัฐอ้างว่าควบคุมรายได้ เอกชนก็อ้างได้เช่นกันว่ามันมีต้นทุน(ที่พวกคุณเรียกเก็บไป) นั่นแหละ จึงต้องมีค่าบริการเท่านั้น เท่านี้
  3. ก็เพราะนี่เป็นที่มาของรายได้จึงต้องมีการประมูลเพื่อคัดเลือกส่วนหนึ่งมันก็ใช่ แต่อีกส่วนหนึ่งควรทำให้ประชนชนได้ประโยชน์มากกว่านี้ เพราะอย่างที่เห็นว่าอย่างไร ก็ไม่พ้น 3 รายเดิมๆ ได้ ซึ่งไม่ผิดแปลกอะไรอย่างน้อยก็มีการให้ได้แข่งขัน แต่ไม่น่าจะใช่เงื่อนไขการแข่งขันกันใช้เงินมาเพิ่มต้นทุน
  4. ที่ทุกวันนี้ 3G ความเร็วสูงสุดแค่ไหน 4G ความเร็วสูงสุดแค่ไหน แล้วไง ในเมื่อใช้กันอยู่ที่ราว 128k สำหรับคุณที่ไม่รู้เรื่องความเร็ว สรุปง่ายๆ ว่าคือไม่มี 3G ก็เร็วเท่านี้ได้ แต่บางคนอาจได้ใช้ประโยชน์จริงๆ ก็อีกแหละตรงนี้ถ้าว่าเช่นนั้น 3G ก็เพียงพอ นี่จะประมูล 4G กันอีกแล้ว ทุนเพิ่ม ของใหม่มา เพื่อให้ อะไรๆ แพงขึ้น หรือคุณว่าไม่จริง แล้วทำไมต้องแพง ย้อนไปดูข้อ 2.

ส่วนหนึ่งจะว่าไม่ทำอะไรเลยก็ไม่ใช่ ก็ได้มีการควบคุมกฎเกณฑ์ต่างๆ เช่นเปลี่ยนเบอร์ ห้ามเลิกเบอร์ คิดเป็นวินาที แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ช่วยเรื่อง “คุณภาพ” ต่อประชาชนเท่าใดนัก ส่วนหนึ่ง กลายเป็นช่องการแข่งขันของแต่ละค่ายไปเป็นปกติ และไม่จำเป็นต้องใช้ เงิน เพราะเป็นการออกกฎระเบียบ..

ดังที่บอกว่านี่ทั้งหมดคือการแค่ตั้งข้อสงสัยว่า นี่พวกเรากำลังแบกรับอะไรกันอยู่ ในสิ่งที่เอกชนพัฒนา ก็พัฒนาตามที่เอกชนพึงทำ(อยู่แล้ว) หรือแข่งขันกันเป็นปกติ แต่ไม่ได้มาจากรัฐ เท่าใดนัก ทีวีก็มีช่องดาวเทียมอยู่ก่อนแล้วเป็นปกติที่แข่งกัน ช่องไม่ดี ก็มีกฎเกณฑ์บังคับได้อยู่แล้วไม่จำเป็นต้องยุ่งเรื่องประมูล หรือต้องใช้เงิน

สัญญาณโทรศัพท์ ก็อย่างที่เห็นว่าไม่ได้ช่วยส่งเสริมอะไรได้เป็นรูปธรรม ถ้าให้ยกตัวอย่างหรือเสนอ(เดี๋ยวจะมองว่าติเป็นอย่างเดียว) ก็มีช่องทีวีของรัฐ หรือรายการของรัฐ ที่ใช้เงินประมูลนั้นแหละ ทำรายการออกมาเพื่อส่งเสริมทีวีดิจิตอล แบบเป็นช่องหรือรายการ Official ก็ได้แล้วซื้อ หรือผลิตรายการดีๆ จนคนติดพอก็เป็นการส่งเสริมให้คนต้องอยากได้ อยากใช้ แต่กล่องดิจิตอลเป็นต้น

เช่นเดียวกับ โทรศัพท์การมี CAT หรือ TOT ก็น่าจะนำเงินสนับสนุนในภาคบริการให้ประชนได้รับหรือได้มีช่องทางที่กดดันในการบริการของภาคเอกชน ให้ถูกลง หรือยุติธรรมมากขึ้น เช่น ส่วนใหญ่ผมเชื่อว่า 4G 5G คนใช้จริงมีไม่กี่คน เอาแค่ 3G 1-2mb unlimited ความเร็วคงที่แค่ไม่ถึง 10% ของความเร็วสูงสุดทำให้ได้ก็พอ เพราะเอาแค่ 3G ที่เป็นเม็ดเงินประมูลไป ความเร็ว 42mb เราได้ใช้จริงที่ (128k)ราว 0.3% ไม่ถึง 1% จะใช้ดีๆ มาก ประชาชนต้องจ่ายแพง แล้วเงินประมูลสิ่งนี้มีไปเพื่ออะไรกันหรือหายไปทำอะไรกัน เท่าที่เห็นก็มีแต่จะกลายเป็นต้นทุนเพิ่มที่ตกมาถึงพวกเราในท้ายที่สุด ก็เท่านั้นเอง.. คุณว่าสร้างหรือถ่วงความเจริญมากกว่ากัน..

Sirichaiwatt Avatar
วิทยากร คอลัมนิสต์ นักเขียน นักคิด ที่ปรึกษา อิสระ ปัจจุบันประกอบอาชีพหลัก พ่อบ้าน :P ส่วนวิทยากร ธุรกิจส่วนตัว และอื่น ๆ เป็นอาชีพรอง.. V(^0^)V
แสดงความคิดเห็น