เด็กสาว สู่หญิงสาว กับเรื่องราวระหว่างนั้น.. (แพรวา)

by

| Home » บทความดีๆ » บทความน่าอ่านและเรื่องราวดีๆ » A Life In A Day » เด็กสาว สู่หญิงสาว กับเรื่องราวระหว่างนั้น.. (แพรวา) |


เด็กสาววัยไม่ถึง 17 ปีดี ได้ประสบอุบัติเหตุจากการขับรถโดยประมาท ทำให้มีผู้เสียหาย ถึงขั้นเสียชีวิตหลายราย..

จะด้วยสาเหตุแท้จริงอันใดก็ตาม เชื่อว่ามันคือสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น ภาพแรกจากสื่อเมื่อปี 2533 คือเธอยืนพิงกำแพงทางด่วน ก้มดูโทรศัพท์มือถือ เชื่อว่าหากภาพข่าวไม่ออกมาในลักษณะนั้น กระแสบางอย่างอาจไม่รุนแรงถึงวันนี้ นี่อาจเป็นภาพที่ “ไม่ยุติธรรมต่อเธอนัก”

หลังจากเป็นข่าว ก็มีการสืบประวัติ ทราบว่าเธอมีนามสกุลดัง และเป็นน้องสาวต่างแม่ ของดาราคนหนึ่ง จากประวัติคร่าว ๆ ประกอบกับภาพข่าว กระแสสังคมไปในทางโจมตีเธออย่างรุนแรง “เพราะทำให้คนเสียชีวิตหลายคนนั้น เป็นเรื่องใหญ่” ในเมื่อมันเป็นเรื่องใหญ่ เด็กสาววัย 16 ปีกว่านั้น จะรับมือได้อย่างไร?..

สังคมไทยที่มีกระแสความเหลื่อมล้ำมาสักพัก ที่เราเห็นชัดเจนไม่ว่าจะทางการเมืองหรือสังคมโดยทั่วไป เหตุการณ์ระหว่างนั้น จึงโฟกัสไปเข้าข้างผู้เสียหาย เพราะจำเลยนั้นมีนามสกุลใหญ่ มีชื่อเสียงในสังคม..

การเปิดเผยประวัติผู้เสียชีวิตยิ่งทำให้ผู้คนโกรธเคือง ไม่พอใจ เพราะแน่นอนว่าการเสียชีวิตย่อมนำพาสู่การสูญเสีย และกล่าวถึงคุณความดีที่เขาเหล่านั้นได้ทำไว้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิด..

เมื่อเทียบกับเด็กสาววัย 16 ปี ที่ยังเรียนไม่จบ.. ไม่เคยทำอะไรต่อใคร เธอจึงเป็นจำเลยที่แย่ในสายตาใคร ๆ อย่างเทียบไม่ได้..

ความผิด ความประมาทที่เธอได้ทำ สร้างความเสียหายร้ายแรง แต่ในอีกมุมหนึ่งนั้น หากเราทำให้คนอื่นเสียชีวิต แค่คนเดียวอาจด้วยความประมาทก็ตาม เราคงรู้สึกแย่มาก เชื่อว่าหลายคนก็มีหัวจิตหัวใจเช่นนี้ แต่ในกรณีนี้ เสียชีวิตหลายคน ประกอบกับสังคมที่กดดัน หากเป็นเราก็คงยากจะรับมือเช่นกัน เพราะเราส่วนใหญ่คงไม่ใช่คน อำมหิต..

เมื่ออะไร ๆ มันแย่อยู่แล้ว หากเด็กสาวออกมาพูดอะไร แล้วพลาด ผิด ดูแย่ลงไปอีก ยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง ผู้เป็นพ่อแม่อาจคิดเช่นนี้ จึงปกป้องลูกด้วยวิธีไม่ให้พูดดีกว่า.. เงียบดีกว่า การพยายามให้กระแสผ่านไป ที่จริงก็เป็นวิธีการที่ดีวิธีหนึ่ง..

และจากภาพรวมทั้งหมดที่เกิดจากความเกลียดชัง การจะไปพบญาติผู้เสียหาย ย่อมน่ากลัว แม้ฝ่ายผู้เสียหายจะไม่ใจร้ายแต่ ในความคิดหนึ่งก็ยากจะไว้สังคม ใครจะรู้เหมือนที่เราเห็นคำว่า ประชาทัณฑ์ กันอยู่บ่อย ๆ..

ทนายความ.. ผู้มีหน้าที่ด้านกฎหมาย แต่ถ้าคุณเคยขึ้นโรง ขึ้นศาลจะพบว่า ทนายความนั้นนอกจากต้องเก่งกฎหมายแล้ว จิตวิทยา การกดดัน หรือที่เราเรียกว่าข่มขู่ เป็นปกตินิสัยของทนาย ที่อาจไม่ทุกคน และชอบที่จะใช้วิธี หัวหมอ ให้พ้นผิด หรือทุเลาลง ซึ่งก็ไม่ได้บอกว่าทุกคนเช่นกัน..

เมื่อสังคมกดดัน พ่อแม่ ย่อมปกป้อง ลูกย่อมต้องเชื่อฟัง เมื่อเป็นความ ทนายต้องทำหน้าที่ จำเลยก็ต้องย่อมต้องเชื่อฟัง..

แต่ใครจะรู้ หรือเราลองไปนั่งในภาพตรงนั้น ลองคิดดูว่าจะใช้ชีวิตอย่างไร กับคนรอบตัวที่รู้จัก อยากออกมาพูดไหม? อยากให้จบไหม? อยากลืมไหม? มันส่งผลแน่นอน จึงไม่แปลกอะไร ที่เธอต้องผิดหวังและไม่สำเร็จในชีวิตคู่..

ต้องยอมรับว่าจากอุบัติเหตุ สู่การจัดการ หรือการแก้ปัญหาที่ผิดพลาด แต่บางทีตั้งแต่ตอนนั้นจนปัจจุบัน การแก้ปัญหาอาจไม่ได้มาจากความคิดหรือการตัดสินใจของเด็กสาว ที่วันนี้โตเป็นผู้ใหญ่ ที่พยายามจะผ่านอะไร ๆ ในตอนนั้นมา เธออาจได้เพียงมองลอดช่องประตู ไม่รู้ว่าจะเปิดออกไปอย่างไร ไม่รู้ว่าจะเผชิญหน้าได้อย่างไร ในเมื่อที่ผ่านมาก็ผิดตลอด เป็นผมก็คงยากจะทำใจเช่นกัน..

เรื่องทั้งหมดนี้ ไม่ใช่ความคิดทั้งหมดของผม เป็นเพียงการเขียนอย่างลำเอียงไปอีกทางดูบ้าง ในมุมที่ต่างจากสื่อปัจจุบันทั่วไป..

บทความฉบับปรับปรุง เผยแพร่ครั้งแรก Facebook Sirichaiwatt เมื่อ 19/7/2019

เด็กสาว สู่หญิงสาว กับเรื่องราวระหว่างนั้น.. (แพรวา)
Sirichaiwatt Avatar
วิทยากร คอลัมนิสต์ นักเขียน นักคิด ที่ปรึกษา อิสระ ปัจจุบันประกอบอาชีพหลัก พ่อบ้าน :P ส่วนวิทยากร ธุรกิจส่วนตัว และอื่น ๆ เป็นอาชีพรอง.. V(^0^)V
แสดงความคิดเห็น