หยุดหน่อยไหม จะได้ไม่ต้องทำร้ายตัวเอง
เวลาไหนที่คนเราทำร้ายตัวเอง? ทำร้ายในที่นี้ไม่ใช่แค่ทางกาย แต่ทำให้ชีวิตผิดเพี้ยนอาจได้มากกว่าที่เรารู้ตัว แต่ถ้าเรารู้ หยุดหน่อยไหม? จะได้ไม่ทำร้ายตัวเอง #บทความดีๆ #ข้อคิด
เวลาไหนที่คนเราทำร้ายตัวเอง? ทำร้ายในที่นี้ไม่ใช่แค่ทางกาย แต่ทำให้ชีวิตผิดเพี้ยนอาจได้มากกว่าที่เรารู้ตัว แต่ถ้าเรารู้ หยุดหน่อยไหม? จะได้ไม่ทำร้ายตัวเอง #บทความดีๆ #ข้อคิด
“คิดว่าเงินแก้ปัญหาไม่ได้เหรอ มีเงินหรือเปล่าล่ะ เอามาสิ เดี๋ยวทำให้ดู” ประโยคที่ผมได้ยินแล้วอดโมโหไม่ได้ แต่สุดท้ายเมื่อเข้าใจ ก็สร้างมุมคิดใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหาให้ได้อีกแบบหนึ่ง
ถ้าเราได้อยู่กับ “สิ่งที่เรารัก” มันก็จะทำให้เรามีความสุข นั่นคือสิ่งที่หลายคนกล่าวไว้ แต่ถ้าไม่ได้อยู่กับสิ่งนั้นล่ะ เราต้องไม่มีความสุขไหม? หรือ ในผู้ที่คิดว่าได้อยู่กับสิ่งที่รักแล้ว แต่กลับมีสิ่งทำให้รู้สึกว่าไม่สุขเลย เหล่านี้เป็นไปได้ไหม?
เคยได้ยินเรื่องสั้น ขำขัน เรื่องหนึ่งไหม ที่เพื่อนคนหนึ่งถามเพื่อนอีกคนว่า “นายสูบบุหรี่มากี่ปีแล้ว?” เพื่อนตอบว่า “20 ปี” อีกคนจึงบอกว่า “โฮ่ ถ้านายไม่สูบแล้วเอาเงินค่าบุหรี่ไปซื้อรถได้เลยนะเนี่ย” แล้วเพื่อนก็ย้อนว่า “แล้ว นายไม่สูบบุหรี่ ไหนล่ะรถของนาย..”
บางคนก็คิดว่า “ถ้าไม่มีเราสักคนจะเป็นยังไง” บางคนก็คิดว่า “แม้ไม่มีเรา เขาก็อยู่กันได้” ว่าด้วยเรื่องการทำงาน ถ้าคุณกำลังจะลาออก ความคิดคุณจะเป็นแบบไหน? ถ้าไม่มีเราเขาทำงานกันได้ไหม? หรือ เราการทำงานของเราสำคัญหรือเปล่านะ?
บันไดหนีไฟ เป็นต้นทุนที่สิ้นเปลือง เพราะไม่ค่อยได้ใช้ และอาจไม่มีวันได้ใช้ แต่เมื่อใดต้องใช้มันถึงจะสำคัญ สิ่งนี้นั้นเหมือนบางเรื่องของชีวิตเรา…
“ข้อจำกัด มีไว้ขจัดพวกขี้แพ้” คุณมีความรู้สึกต่อประโยคนี้อย่างไร ส่วนหนึ่งอาจขึ้นอยู่กับว่า “เรายอมรับหรือเปล่า ว่าเรามันขี้แพ้” ไม่แน่ว่าบางทีเรื่องนี้ อาจมีเรื่องที่เราต้องคิดใหม่ในการทำอะไรสักอย่างหนึ่ง…
Know how ไม่เท่า Know who หรือ “รู้อะไรไม่สู้ รู้จักใคร” เรื่องนี้จริงไหมในสังคมเรา มองมุมหนึ่งอาจไม่ดี มองมุมดี ๆ ก็อาจมีอยู่ พิจาณาดูกัน…
ความเงียบ อาจถูกตีความเบื้องต้นว่าคือความสงบ ไม่เคลื่อนไหว ไร้พลัง กระทั่งภาวะจำยอม ที่จริง มันมีบางสิ่งที่เป็น พลังเงียบ อันมีประโยชน์หากเรานำมาใช้เป็น
ความ “ประมาท” คือการไม่ระวังตัว แต่หากระวังไปเสียหมดทุกเรื่อง อาจเรียกว่าเป็น “ประสาท” ได้ แล้วแค่ไหนควรพอดี? ทัศนคติต่อเรื่องนี้มีผลกับชีวิตเราพอสมควร คนที่ไม่ประมาท ชีวิตย่อมอยู่บนพื้นฐานความสุข แต่คนที่กำลังประสาท ก็ยากจะมีความสุข
ขอบคุณน้อยกว่า อภัยมากกว่า ชื่อเรื่องที่ฟังดูแปลก ๆ เรื่องนี้เกี่ยวกับชีวิตทั่วไปในแต่ละวันของเรา หากใจอยากมีความสุข ก็ต้องขอบคุณน้อยกว่า อภัยมากกว่า…
การเปรียบว่า “ชีวิตเหมือนการเดินทาง” เป็นอะไรที่เหมาะสมดี ซึ่งในคำว่า “การเดินทาง” นี้ ก็มีอีกหลากหลายแง่มุม จึงมักมี คติ คำคม หรือประโยคเปรียบเปรยต่าง ๆ ให้คิด ให้ทบทวน บทความสั้น เรื่องนี้ก็เช่นกัน
หลายเรื่องในสังคมและชีวิตเราควรมีสิทธิ์ที่จะไม่เห็นด้วยกับเรื่องต่าง ๆ มากมาย แต่พอเราคิดแล้วเราก็เลือก “ไม่พูดดีกว่า” รวมถึงรู้ว่า “มันพูดไม่ได้” ทำไปกันนะจึงเป็นเช่นนี้?
คุณเคยประสบปัญหานี้หรือเปล่า? ใครคนหนึ่ง ที่อยากเอาใจเขา หรือรู้ว่าเขาก็อยากให้เอาใจ แต่ซื้ออะไรให้ ทำอะไรให้ ก็ไม่ค่อยจะถูกใจเขาสักที.. พอเราเฉย ๆ ไม่กล้าเอาใจ ก็กลายเป็นว่า เรานี่ ไม่ใส่ใจ!! พูดง่าย ๆ คือ รู้สึกว่าเขา เอาใจยากจัง.. ผมมีมุมมองหนึ่งมานำเสนอ เผื่อว่าน่าจะเป็นประโยชน์นำไปปรับใช้กับ คุณหญิง หรือ คุณชาย เอาใจยากของคุณ
เราอาจเคยได้ยินประโยคว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่มีใครหนีพ้น ก็ใช่ แต่ทำไมจึงไม่ควรปล่อยให้เป็นธรรมดา ก็เพราะว่าเมื่อเกิดจริง ๆ มันไม่เคยธรรมดาเลย..
ตอนสุดท้ายของบทความการเงิน ชุดนี้ ที่เขียนมาให้ตระหนักอีกมุมบนคำถามที่ว่า “มีเงิน” ของคุณคืออะไร หรือบางทีแบบไหนที่เรียกว่ามีเงิน รวมถึงคำว่า “รายเหลือ” มันคืออะไร?
ธรรมชาติของหลายคน รวมถึงผม เวลาที่เราเห็นอะไรไม่ถูกต้อง ผิดที่ผิดทาง เราย่อมไม่สบายใจ อยากให้ความเห็น บอก สอน แนะนำ แม้จะด้วยเจตนาดีเพียงใด แต่ผลลัพธ์มันมักไม่ตรงเจตนา ทำไมกันนะ..
บทความแง่คิดมุมมองด้านการเงิน ตอนที่ 2 คิดเล่น ๆ เรื่องการเงินกันดู มีมุมไหน ไม่เคยมอง ไม่เคยคิด ไม่เคยรู้จัก อาจได้มุมใหม่ ๆ ให้เลิกคิดเล่น ๆ ก็ได้ครับ
บทความดี ๆ ด้านการเงิน ที่มี 3 ตอน โดยไม่ได้เป็นบทความเกี่ยวกับการบริหารการเงินแต่เป็น ทัศนคติที่มีต่อเงิน ที่ควรมองหลาย ๆ มุม และควรจะอ่านก่อนคิดจัดการการเงินด้วยซ้ำไป บางทีอาจมีแรงบันดาลใจมากขึ้น
เราอาจเคยได้ยินแต่คนพูดว่า อย่าแก้ปัญหาแบบเด็กๆ ซึ่งมักหมายถึงการแก้ปัญหาแบบที่คิดง่ายไป คิดน้อยไป หรือไม่ค่อยจะเข้าท่าในเชิงเหตุผล จึงกล่าวกันไว้เช่นนั้น นี่คงเป็นเป็นอีกบทความดี ๆ ที่จะลองชวนมาลองเปลี่ยนทัศนคติ กันดู
ไลฟ์โค้ช (Life coach) คืออะไร น่าจะมีที่มาอย่างไร ควรเป็นใคร และที่ดี ๆ มีไหม ที่สุดแล้ว เราจำเป็นต้องมีไลฟ์โค้ชหรือไม่ บทความนี้ จะมานำเสนอเนื้อหาเพื่อแบ่งประสบการณ์ด้านนี้ ให้นำไปพิจารณากันดู
อารมณ์กับเหตุผล ส่วนใหญ่คุณเลือกใช้อะไรในชีวิต และการทำงาน อารมณ์ในที่นี้หมายถึง ความรู้สึก ความพึงพอใจ และเหตุผลที่บางทีก็ไม่แน่ใจนะว่าเป็นเหตุผลจริง ๆ หรือเปล่า เราจึงมักใช้กันผิด!?
บทความนี้จะพูดถึงเหตุผลที่ทำอะไรไม่สำเร็จ แน่นอนมันมีหลายปัจจัย หลายเหตุผล แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเหตุผลหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นเหตุผลของคุณก็ได้นะ ที่ทำให้ไม่สำเร็จ
คงเคยได้ยินประโยคที่ว่า ปัญหาของเรา เราก็ต้องแก้เอง หรือ “ปัญหาของใคร คนนั้นก็ควรแก้เอง” ประโยคนี้ อาจเป็นจริงในบริบทหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดจากผู้พูดที่ไม่ต้องการให้ความช่วยเหลือ ไม่อยากช่วยเหลือ อาจเพราะดูว่า ไม่น่าช่วยเหลือ ช่วยมามาก หรือเหตุผลใดก็ตาม จึงมีคำพูดออกมาในทำนองนี้
บทความที่อ่านยากสักหน่อย แง่คิดเรื่องที่สะท้อนว่า ในหลาย ๆ เรื่องหากเกี่ยวกับเรานั้น เราล้วนต้องรับผิดชอบทั้งสิ้น
อย่าเก่งเรื่องชาวบ้าน ในที่นี้ คือชาวบ้านมีอะไร ช่วยเขาได้หมด เป็นคนดีเหลือเกิน แต่แน่เหรอว่าเป็นคนดีอยู่?
เราหลายคนคงมีความคิด ทัศนคติที่ว่า การทำอะไรสักอย่าง ย่อมดีกว่าไม่ทำซักที แน่นอนว่ามันถูกต้อง แต่ทำ ๆ ไป แล้วได้อะไรจริงหรือเปล่า อันนี้ลองตรองดู
ทัศนคติแบบหนึ่ง ย่อมนำพาเราไปสู่สิ่งหนึ่ง.. ทำไมเราจึงอยากอ่านบทความดี ๆ เรื่องราว ดี ๆ ? ถ้าเดาไม่ผิด ก็คงเพราะอยากได้สาระ แล้วเราหาอะไรจากความสั้น?
ผมไม่แน่ใจว่าประโยคที่บอกว่า “ขึ้นอย่าหลง ลงอย่าท้อ” มีต้นตอหรือที่มาจากไหนแต่ผมพูดติดปากมาหลายปีแล้ว ด้วยความชอบประโยคนี้มากพอสมควร เหตุเพราะว่าเมื่อชีวิตคุณประสบสถานะที่คล้ายกันนี้ คุณจะเข้าใจดีเลยว่าประโยคนี้เป็นความจริงอย่างไร และมันเตือนตัวเองได้เสมอ